
ผังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ
Carpal Tunnel Syndrome
อาการของ Carpal Tunnel Syndrome
- ชา เป็นเหน็บ และปวดแสบปวดร้อนบริเวณฝ่ามือกับนิ้วมือโดยเฉพาะนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ และอาจรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อตที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางเป็นบางครั้ง โดยไม่มีอาการดังกล่าวที่นิ้วก้อย ซึ่งหากพบความผิดปกติที่นิ้วก้อย ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น
- ปวดหรือเป็นเหน็บไล่จากปลายแขนไปยังหัวไหล่
- ไม่สามารถใช้มือได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน เช่น ติดกระดุมไม่ได้ หรือทำสิ่งของหลุดมือ
อาการของ Carpal Tunnel Syndrome มักเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจแสดงอาการเพียงชั่วคราวในช่วงแรก และกำเริบบ่อยขึ้นหรือมีอาการนานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการตอนกลางคืนหรือหลังตื่นนอน ซึ่งมักรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ขยับหรือสะบัดมือ และมีอาการชัดเจนมากขึ้นหลังจากทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวข้อมือหรือใช้ข้อมือหยิบจับและถือสิ่งของเป็นเวลานาน เช่น ทำงานบ้าน ซักผ้า บิดผ้า หั่นเนื้อสัตว์ ตำน้ำพริก ใช้โทรศัพท์ อ่านหนังสือ จับพวงมาลัยขณะขับรถ ขี่รถจักรยานยนต์ เป็นต้น รวมทั้งอาจมีอาการต่าง ๆ ขณะนอนหลับได้ด้วย เพราะข้อมือบิด เกร็ง หรืออาจนอนทับข้อมือ
สาเหตุของ Carpal Tunnel Syndrome
Carpal Tunnel Syndrome เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกบีบอัดหรือกดทับบริเวณข้อมือ ซึ่งอาจมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ ดังนี้
- พันธุกรรม โดยผู้ที่มีข้อมือเล็ก เช่น ผู้หญิง เสี่ยงต่อการบีบอัดหรือกดทับเส้นประสาทมีเดียนสูง
- ความผิดปกติด้านโครงสร้าง เช่น ข้อมือหักหรือเคลื่อน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับได้
- การใช้งานมือและข้อมือที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ที่เคลื่อนไหวมือกับข้อมือในลักษณะเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียนมากขึ้น เช่น แม่บ้าน แม่ครัว หรือแม่ค้าส้มตำ
- เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเส้นประสาทมือถูกทำลายมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น Carpal Tunnel Syndrome
- การอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ เช่น ข้อมืออักเสบ ซึ่งมีผลต่อเยื่อบุรอบเอ็นยึดข้อมือ และอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ
- ภาวะอ้วน เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เส้นประสาทข้อมือถูกบีบอัดหรือรับแรงกดจนเกิด Carpal Tunnel Syndrome ได้เช่นกัน
- การปรับกล้ามเนื้อตา คือการศัลยกรรมที่ช่วยให้คุณสามารถลืมตาได้อย่างชัดเจน ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงที่จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น การศัลยกรรมปรับกล้ามเนื้อตาจึงเข้ามาช่วยในเรื่องของการมองเห็นและการปรับรูปตาให้ดูสมส่วนมากยิ่งขึ้น
- ภาวะอื่น ๆ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง และไตวาย
การวินิจฉัย Carpal Tunnel Syndrome
แพทย์มักวินิจฉัย Carpal Tunnel Syndrome จากการซักประวัติผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย และอาจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้
วิธีการรักษาพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือเบื้องต้น
การตรวจมือ
- ตรวจสอบอาการชาหรือเหน็บจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ ซึ่งทำได้โดยเคาะบริเวณเส้นประสาทมีเดียนตรงข้อมือ หรือทำให้เส้นประสาทมีเดียนตึงมากขึ้นด้วยการดัดข้อมือ เพื่อให้ผู้ป่วยแสดงอาการผิดปกติที่ชัดเจนมากขึ้น
- ทดสอบความไวต่อความรู้สึกบริเวณปลายนิ้วมือเมื่อถูกสัมผัสอย่างแผ่วเบา
- ตรวจดูภาวะอ่อนแรง และการฝ่อของกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้ง การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้า
- วัดความเร็วของกระแสประสาท เพื่อดูประสิทธิภาพของการนำกระแสประสาทบริเวณมือกับแขน
- ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ เพื่อตรวจหาความเสียหายของเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งมักใช้ตรวจในกรณีที่ต้องการวินิจฉัยให้แน่ชัดขึ้นเท่านั้น
การตรวจด้วยรังสีวิทยา
- เอกซเรย์เพื่อดูโครงสร้างของมือด้วยการฉายภาพรังสี ซึ่งช่วยคัดกรอง Carpal Tunnel Syndrome จากโรคอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบ เอ็นยึดบาดเจ็บ และกระดูกหัก
- อัลตราซาวด์ เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาทมีเดียนด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
- เอ็มอาร์ไอ เพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาทมีเดียนที่ผิดปกติจากการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น แผลเป็นจากการบาดเจ็บ หรือเนื้องอกบริเวณข้อมือ
การรักษา Carpal Tunnel Syndrome
เมื่อเริ่มรู้สึกชา ปวด หรือไม่สามารถใช้งานมือและข้อมือได้ตามปกติ ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ทันที เพื่อไม่ให้เส้นประสาทมีเดียนเสียหายมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการรักษา Carpal Tunnel Syndrome ดังนี้
การรักษาเบื้องต้น
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น พักมือหลังใช้งานเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้อาการแย่ลง และประคบเย็นเมื่อมือบวม
- การใส่เฝือกและอุปกรณ์ช่วยพยุง เพื่อจัดวางให้เส้นประสาทมีเดียนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ตึงตัว หรือถูกกดทับ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยต้องนอนหลับหรือทำกิจกรรมที่อาจทำให้อาการของโรคแย่ลง
- การทำกายภาพบำบัดมือ นักกายภาพบำบัดจะแนะนำวิธีและขั้นตอนการทำกายภาพบำบัดบริเวณข้อมือ เพื่อให้เส้นประสาทมีเดียนเคลื่อนไหวในช่องข้อมือได้สะดวกขึ้น
- การรับประทานยาแก้อักเสบกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน และแอสไพริน
- การใช้ยาสเตียรอยด์ ได้แก่ การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์กับคอร์ติโซน เช่น ลิโดเคน เข้าช่องข้อมือ และการรับประทานยาเพรดนิโซน เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด แต่การรักษาด้วยวิธีนี้มักได้ผลเพียงชั่วคราว และไม่ควรใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- การรักษาโรคประจำตัวอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและข้ออักเสบควรเข้ารับการรักษาและควบคุมอาการของโรคนั้น ๆ ให้ดีเสมอ เพื่อป้องกันอาการกำเริบหรือผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
หากการรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียน ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือ เพื่อขยายขนาดช่องข้อมือ ซึ่งช่วยลดแรงกดบริเวณเส้นประสาทมีเดียน โดยศัลยแพทย์อาจให้ยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ และยาระงับอาการปวดปริมาณเล็กน้อยทางหลอดเลือดดำ โดยการผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือมี 2 วิธี ดังนี้
- การผ่าตัดขยายช่องข้อมือด้วยวิธีปกติ แพทย์จะกรีดรอยเปิดบนฝ่ามือขนาดประมาณ 2 นิ้ว แล้วผ่าตัดนำเอ็นยึดข้อมือบางส่วนทิ้งไป
- การผ่าตัดขยายช่องข้อมือด้วยกล้อง แพทย์จะกรีดรอยบนมือหรือข้อมือ 1-2 จุด ขนาดประมาณ ½ นิ้ว แล้วผ่าตัดเอ็นยึดข้อมือบางส่วนทิ้งไปโดยสอดกล้องส่องช่วยในการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยปวดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ