ศัลยกรรมเสริมซิลิโคนสะโพก

     ทุกวันนี้การเล่น Social Network ทำให้คนส่วนใหญ่นิยมในการถ่ายรูปหรือแต่งตัวเพื่อถ่ายรูปอัพลง Social ทำให้ผู้คนหันมาสนใจรูปร่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ให้ความสำคัญในการแต่งตัว ใส่ใจในรายละเอียดส่วนโค้งเว้าของร่างกาย ทำให้บางกลุ่มที่มีปัญหาก้นแบนหรือสะโพกตรง มีความกังวลเรื่องสรีระของตนเอง จึงมองหาวิธีการแก้ไข การเพิ่มวอลลุ่มให้สะโพกหรือก้นนั้นสามารถทำได้ทั้งการเติมไขมัน หรือการเสริมด้วยซิลิโคน แต่การเติมไขมันนั้นมีข้อจำกัดสำหรับคนที่ผอมหรือมีไขมันน้อย ทำให้มีไขมันไม่เพียงพอในการนำมาเติมบริเวณดังกล่าง ดังนั้นการเสริมซิลิโคนสะโพกจึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยทำให้สามารถแก้ไขปัญหาแบบถาวร ทำให้เห็นสัดส่วนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหลังทำทันที และเพิ่มความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น

     การศัลยกรรมเสริมซิลิโคนสะโพก จะใช้ซิลิโคนประเภทเดียวกันกับที่ใช้เสริมหน้าอก คือมีทั้งแบบผิวเรียบและผิวทรายแต่จะมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันโดยซิลิโคนประเภทนี้จะถูกมาผลิตมาเพื่อไว้ใช้ในการเสริมสะโพกเท่านั้น โดยตัวซิลิโคนจะได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ทนต่อแรงกดทับและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการนำมาเสริมก้นหรือสะโพกโดยเฉพาะ จะมี 2 ทรง คือ

  • ทรงกลม มีรูปร่างกลมแต่แบนกว่าซิลิโคนเสริมหน้าอก เหมาะกับการเสริมสะโพกด้านในหรือเสริมก้น เพื่อเพิ่ม Volumn
  • ทรงหยดน้ำ มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ คือส่วนล่างป่อง ส่วนบนแบน เหมาะกับการเสริมด้านข้างของสะโพก เพื่อให้สัดส่วนโค้งเว้าดูชัดเจน

โดยศัลยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิณตามความเหมาะสมให้เข้ากับสรีระ และแก้ปัญหาจุดบกพร่องของแต่ละบุคคล 

แผลจากการเสริมซิลิโคนสะโพกจะมี 3 เทคนิค

     1.เทคนิคแผลบริเวณก้นกบ เป็นเทคนิคที่นิยมที่สุด จะมีแผล 1 จุดมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ซ่อนอยู่บริเวณร่องก้น ทำให้มองไม่เห็นแผล สามารถใส่ซิลิโคนเข้าได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาแต่จะมีข้อเสียคือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากกว่าวิธีอื่น

     2.เทคนิคแผลที่ขอบใต้ก้น เทคนิคนี้จะใช้เฉพาะกับการวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เปิดแผลบริเวณรอยขอบระหว่างใต้ก้นกับต้นขา แต่จะมีข้อเสียของแลที่อาจจะเห็นได้ชัด

     3.เทคนิคแผลที่ขอบบนของสะโพกทั้ง 2 ข้าง เป็นเทคนิคที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เพราะจะเห็นแผลได้ชัดเจนมาก

การวางซิลิโคนในการผ่าตัดศัลยกรรมสะโพกนั้นมี 3 เทคนิค

     1.การวางซิลิโคนแบบเหนือกล้ามเนื้อ เทคนิคนี้หลังทำจะเห็นความนูนของสะโพกหรือก้นได้ชัดเจน และไม่เสี่ยงที่จะโดนเส้นประสาทใหญ่ แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการทะลุของซิลิโคนได้ หรืออาจเห็นขอบซิลิโคนได้ง่าย

     2.การวางซิลิโคนแบบใต้กล้ามเนื้อหรือระหว่างกล้ามเนื้อ วิธีนี้สามารถทำได้ในบางคนเท่านั้น เพราะโดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อของสะโพกและกล้ามเนื้อมัดล่างอาจจะไม่สามารถแบ่งออกได้อย่างชัดเจน  ดังนั้นการที่จะวางซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อ 2 มัดนั้นจึงทำได้แค่เฉพาะบางคน หลังทำด้วยเทคนิคนี้จะดูเนียนเป็นธรรมชาติ ไม่เห็นขอบซิลิโคน และความเสี่ยงที่จะเกิดการทะลุของซิลิโคนในระยะยาวก็น้อยด้วยเช่นกัน แต่เทคนิคนี้จะเจ็บกว่าและการพักฟื้นหลังทำจะนานกว่าการวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างมากเพราะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่อีกด้วย

     3.การวางซิลิโคนแบบใต้ผังผืดกล้ามเนื้อ จะเป็นเทคนิคใหม่ที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการทะลุในระยะยาว และหลีกเลี่ยงการโดนเส้นประสาทได้ดี มีความเป็นธรรมชาติมากๆ ศัลยแพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคนิคนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นเทคนิคใหม่ สามารถเสริมสะโพกด้านข้างได้ดี การพักฟื้นหลังทำค่อนข้างนานและเจ็บกว่าการเสริมแบบเหนือกล้ามเนื้อ

     ในการเสริมซิลิโคนสะโพกนั้น ศัลยแพทย์จะต้องประเมิณเบื้องต้นในการวัดไซส์เพื่อเลือกซิลิโคน และเทคนิคในการผ่าตัด เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระของบุคคลนั้นๆ เนื่องจากบางคนอาจจะต้องทำร่วมกับการดูดไขมันสะโพกเพื่อกำจัดไขมันบางส่วนออกด้วยเพื่อให้สะโพกโดยรวมดูกลมสมส่วน และจะต้องดูความยืดหยุ่นของผิวหนังด้วยเพื่อตกแต่งให้สวยงาม หรือในบางกรณีอาจจะต้องทำร่วมกับการเติมไขมันในบางส่วนด้วย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาสวยงามและดีที่สุด

การดูแลหลังเสริมซิลิโคนสะโพก

  • นอนคว่ำตลอดในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นนอนตะแคงในช่วง 3 เดือนแรก
  • หลีกเลี่ยงการนั่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก จากนั้นให้ใช้เบาะรองนั่งในช่วง 3 เดือนแรกหลังผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำในช่วง 14 วันหรือจนกว่าจะตัดไหม แนะนำให้ใช้ทิชชู่เปียกทำความสะอาด โดยเช็ดจากด้านหลังมาด้านหน้า
  • ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้งจนกว่าจะตัดไหม
  • งดออกกำลังกายในช่วง 1 เดือนหลังผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง อาหารทะเล เพราะอาจทำให้คันบริเวณแผลได้ และอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือโซเดียมสูง เพราะอาจทำให้บวมบริเวณแผลที่ผ่าตัดได้
  • รับประทานยาตามที่ศัลยแพทย์สั่งให้ครบ
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 1 เดือนหลังผ่าตัด
  • ใส่ซัพพอร์ตรัดไว้ตลอดเวลาในช่วง 1 สัปดาห์แรก
  • หลังผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้าบริเวณสะโพก-ก้น เนื่องจากมีซิลิโคนอยู่บริเวณดังกล่าว

Scroll to Top